คำแนะนำในการใช้ฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทย (Thai Subject Headings)


คณะทำงานฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา



หัวเรื่องที่กำหนดขึ้นแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ หัวเรื่องใหญ่และหัวเรื่องย่อย หัวเรื่องส่วนใหญ่ประกอบด้วยรายการต่อไปนี้
  1. หัวเรื่องภาษาไทย
  2. หัวเรื่องภาษาอังกฤษ
  3. เลขหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และ/หรือ ระบบทศนิยมดิวอี้
  4. คำอธิบายการใช้
  5. รายการโยง
ตัวอย่าง :
บรรษัทข้ามชาติ (International business enterprises) แบ่งตามชื่อภูมิศาสตร์
[HD2755.5 ; 338.88, 658.049]
UF ธุรกิจระหว่างประเทศ

บรรษัทลงทุนจระหว่างประเทศ

บริษัทข้ามชาติ
BT การค้า

ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

บริษัท

องค์กรธุรกิจ
RT การร่วมลงทุน

กิจการร่วมค้า
NT การทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิกับต่างประเทศ

ธุรกิจของคนต่างด้าว

บริษัทต่างชาติ


รายละเอียดเกี่ยวกับประเภทของหัวเรื่อง หัวเรื่องภาษาอังกฤษ เลขหมู่ คำอธิบายการใช้ และรายการโยง มีดังนี้

    1. ประเภทของหัวเรื่อง

        1.1  หัวเรื่องใหญ่
เป็นคำวลีที่กำหนดให้ใช้ได้โดยลำพัง และอาจมีหัวเรื่องย่อยตามหลังเพื่อระบุขอบเขตเฉพาะของหัวเรื่องด้วยก็ได้ 

               หัวเรื่องบางหัวเรื่องมีคำขยายเพิ่มเติมในวงเล็บ เพื่อแสดงความแตกต่างระหว่างหัวเรื่อง 2 หัวเรื่องที่สะกดเหมือนกันแต่มีความหมายต่างกัน
               
ตัวอย่าง :
เงาะ
เงาะ (ชนพื้นเมือง)

               หัวเรื่องใหญ่บางหัวเรื่องกำหนดให้ใช้เป็นหัวเรื่องย่อยได้ด้วย เช่น การศึกษา ; จุลชีววิทยา

ตัวอย่าง :
การศึกษา (Education) แบ่งตามชื่อภูมิศาสตร์
[L ; 370]
ดูเพิ่มเติม คำที่ขึ้นต้นด้วย การศึกษา
ใช้เป็นหัวเรื่องย่อยตามหลังชื่อนิกายทางศาสนา กลุ่มบุคคล และกลุ่มสังคมได้ด้วย เช่น ธรรมยุติกนิกาย -- การศึกษา ; คนตาบอด -- การศึกษา ; ชนชั้นสูง -- การศึกษา
ถ้าเป็นหัวเรื่องย่อยตามหลังหัวเรื่องอื่นๆ ให้ใช้คำว่า "การศึกษาและการสอน" เช่น วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
จุลชีววิทยา (Microbiology) แบ่งตามชื่อภูมิศาสตร์
[QR ; 576, 616.01, 660.62]
ดูเพิ่มเติม คำที่ขึ้นต้นด้วย จุลชีววิทยา
ใช้เป็นหัวเรื่องย่อยได้ด้วย เช่น ปลา -- จุลชีววิทยา

        1.2  หัวเรื่องย่อย เป็นคำหรือวลีที่กำหนดขึ้นให้ใช้ตามหลังหัวเรื่องใหญ่ โดยมีขีดสั้น 2 ขีดคั่น เพื่อระบุขอบเขตเฉพาะของเนื้อหา วิธีเขียน ลำดับเหตุการณ์ และขอบเขตทางภูมิศาสตร์

ตัวอย่าง :
เกษตรกรรม -- แง่สังคม
ภาษาอังกฤษ -- แบบฝึกหัด

               หัวเรื่องย่อยที่แสดงลำดับเหตุการณ์จะปรากฏภายใต้หัวเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ วรรณคดี และศิลปกรรม

ตัวอย่าง :
ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงสุโขทัย, 1800-1900
ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงศรีอยุธยา, 1893-2310
ศิลปกรรมไทย -- สมัยเชียงแสน
ศิลปกรรมไทย -- สมัยทวาราวดี

                หัวเรื่องย่อยที่ใช้เป็นชื่อภูมิศาสตร์ ซึ่งได้แก่ ชื่อที่ไม่ใช่ชื่อทางการของทวีป ภูมิภาค ประเทศ รัฐ เมือง และจังหวัด ผู้ใช้สามารถกำหนดชื่อภูมิศาสตร์ขึ้นเองในกรณีที่หัวเรื่องใหญ่มีคำอธิบายระบุให้แบ่งตามชื่อภูมิศาสตร์

ตัวอย่าง :
พระพุทธศาสนา -- ไทย
พระพุทธศาสนา -- ราชอาณาจักรไทย
อุตสาหกรรมท่องเที่ยว -- อินโดนีเซีย
อุตสาหกรรมท่องเที่ยว -- สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

                สำหรับการใช้ชื่อรัฐ เมือง หรือจังหวัดเป็นหัวเรื่องย่อย จะต้องลงชื่อดังกล่าวตามหลังชื่อประเทศ

ตัวอย่าง :
พระพุทธศาสนา -- ไทย -- เชียงใหม่
อุตสาหกรรมท่องเที่ยว -- ไทย -- ภูเก็ต

                ประเภทของหัวเรื่องใหญ่ และหัวเรื่องใหญ่ที่กำหนดให้เป็นแบบอย่างการใช้หัวเรื่องย่อยเพื่อระบุเนื้อหาเฉพาะ มีดังนี้

ประเภท หัวเรื่องใหญ่ที่กำหนดให้เป็นแบบอย่างการใช้หัวเรื่องย่อย
กวี สุนทรภู่
ประเทศ ไทย
พืช ข้าว
ภาษา ภาษาไทย
เมือง กรุงเทพฯ
สถาบันอุดมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สัตว์ ปลา
หน่วยงาน กระทรวงมหาดไทย
อาชีพ ครู
อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการก่อสร้าง

    2. หัวเรื่องภาษาอังกฤษ จัดทำขึ้นเพื่อให้ใช้เป็นแนวทางในการกำหนดเลขหมู่จากคู่มือที่เป็นภาษาอังกฤษ โดยเหตุที่ห้องสมุดส่วนใหญ่ที่ร่วมในโครงการความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาได้วิเคราะห์เลขหมู่ตามระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน คู่มือสำคัญเล่มหนึ่งที่ช่วยในการกำหนดเลขหมู่คือ หัวเรื่องของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Subject Heading) ซึ่งมักจะกำหนดเลขหมู่ไว้ที่หัวเรื่อง ดังนั้นคำภาษาอังกฤษส่วนใหญ่ที่กำกับหัวเรื่อง จึงได้ใช้ตามหัวเรื่องของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน คำภาษาอังกฤษบางคำไม่ตรงกับหัวเรื่องที่กำหนด แต่เป็นคำที่หัวเรื่องของหอสมุดรัฐสภาอเมริกันโยงให้มาใช้ เช่น การฝึกวิชาทหาร (Military education)

    3. เลขหมู่ เลขหมู่ที่ปรากฏเป็นเลขหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และเลขหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้

    4. คำอธิบายการใช้ เป็นคำที่บอกขอบเขตการใช้หัวเรื่องและ/หรือความหมายของหัวเรื่อง

    5. รายการโยง เป็นรายการที่จัดทำขึ้นเพื่อช่วยในการพิจารณาเลือกหัวเรื่องที่ตรงหรือสัมพันธ์กับเนื้อหาของหนังสือที่ทำรายการ รายการโยงที่จัดทำมี 2 ประเภท ดังนี้
        5.1  รายการโยงจากคำที่ไม่ใช้เป็นหัวเรื่องโยงจากหัวเรื่อง ตัวอักษรย่อที่ใช้สำหรับการโยงประเภทนี้ คือ "USE"
        5.2  รายการโยงภายใต้หัวเรื่อง ตัวอักษรย่อที่ใช้สำหรับการโยงประเภทนี้ ได้แก่
"UF" (Use For) ใช้โยงคำที่ไม่ใช้เป็นหัวเรื่อง
"BT" (Broader Term) ใช้โยงหัวเรื่องอื่นที่สัมพันธ์กันแต่มีเนื้อหากว้างกว่า
"RT" (Related Term) ใช้โยงหัวเรื่องอื่นที่สัมพันธ์กันและมีเนื้อหาเท่ากัน
"SA" (See Also) ใช้โยงหัวเรื่องอื่นที่มีเนื้อหาสัมพันธ์กัน
"NT" (Narrow Term) ใช้โยงหัวเรื่องอื่นที่สัมพันธ์กันแต่มีเนื้อหาแคบกว่า
ตัวอย่าง :
กสิกรรม
USE เกษตรกรรม
การเกษตร
USE เกษตรกรรม
เกษตรกร (Farmers) แบ่งตามชื่อภูมิศาสตร์
[630.92]
ดูเพิ่มเติม คำที่ขึ้นต้นด้วย เกษตรกร
UF กสิกร
BT เกษตรกรรม
ชาวชนบท
นักวิชาการเกษตร
RT ประชากรในชนบท
NT คู่สมรสเกษตรกร
ชาวนา
ชาวสวน
ผู้นำเกษตรกร
ยุวเกษตรกร
แรงงานในเกษตรกรรม
สถาบันเกษตรกร